วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรม 20-24 ธันวาคม 2553


ตอบ 3
อธิบาย พีรามิดมวลของสิ่งมีชีวิต(pyramid of mass)โดยปิรามิดนี้แสดงปริมาณของสิ่งมีชีวิตในแต่ละลำดับขั้นของการกินโดยใช้มวลรวมของน้ำหนักแห้ง (dry weight) ของสิ่งมีชีวิตต่อพื้นที่แทนการนับจำนวนพีรามิดแบบนี้มีความแม่นยำมากกว่าแบบที่ 1 แต่ในความเป็นจริงจำนวนหรือมวล ของสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา เช่น ตามฤดูกาลหรือ ตามอัตราการเจริญเติบโต ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นตัวแปรที่สำคัญอย่างไรก็ดีถึงแม้มวลที่มากขึ้นเช่นต้นไม้ใหญ่ จะผลิตเป็นสารอาหารของผู้บริโภคได้มากแต่ก็ยังน้อยกว่าที่ผู้บริโภคได้จากสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เช่น สาหร่ายหรือแพลงก์ตอนทั้งๆที่มวลหรือปริมาณของสาหร่ายหรือแพลงก์ตอนน้อยกว่ามาก ดังนั้นจึงมีการพัฒนาแนวความคิดในการแก้ปัญหานี้โดยในการเสนอรูปของพีรามิดพลังงาน (pyramid of energy)
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/54/2/WEB/page10.html


ตอบ 2
อธิบาย วัฏจักรกำมะถัน กำมะถันเป็นธาตุสำคัญธาตุหนึ่งในการสังเคราะห์โปรตีนหลายชนิด แหล่งกำมะถันส่วนใหญ่ได้จากการสบายตัวองสารอินทรีย์ที่ทับถมในดิน หรือตกตะกอนทับถมกันในดิน ในบรรยากาศพบกำมะถันเป็นจำนวนน้อย กำมะถันที่พบทั้งในดิน น้ำ บรรยากาศ ล้วนอยู่ในรูปของสารประกอบ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ และซัลเฟต ตัวการทีเปลี่ยนแปลงและควบคุมกำมะถันให้เป็นสารประกอบรูปต่างๆ มีทั้งตัวการทางชีวภาพ เช่น แบคทีเรีย ตัวการทางกายภาพ ได้แก่ การกัดเซาะและการตกตะกอน เป็นต้นที่มา http://www.rmuti.ac.th/user/thanyaphak/Web%20EMR/Web%20IS%20Environment%20gr.2/t_3/3_0.htm

ตอบ 3
อธิบาย ความสกปรกในรูปของอินทรีย์สารหรือบีโอดี(Biochemical oxygen demand:BOD) บีโอดี หมายถึง ปริมาณออกซิเจน ที่จุลินทรีย์ในน้ำใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ ตามมาตรฐานสากลจะวัดค่า BOD ภายในเวลา 5 วัน ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส จึงเรียกว่า BOD 5 ในแหล่งน้ำใดถ้ามีค่า BOD สูง แสดงว่าน้ำนั้นเน่าเสียและสกปรกมาก ค่าบีโอดีที่เป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพของน้ำ องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่า BOD ในน้ำที่มีคุณภาพดีหรือมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติจะไม่เกิน 4 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนกระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดค่า BOD ของน้ำตามมาตรฐานของน้ำทิ้งจากชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรมไว้ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร น้ำที่มีคุณภาพดีเยี่ยมจะมีค่า BOD เท่ากับ 0-1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนน้ำที่มีคุณภาพเลวมากจะมีค่า BOD เท่ากับ 12 มิลลิกรัมต่อลิตรขึ้นไป
ที่มา http://www.krumonbs.ob.tc/html/043.html


ตอบ 1
อธิบาย ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ค่ะ (Greenhouse gases)ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect)ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/usa_s/global_warming/sec01p01.html












กิจกรรม 13-17 ธันวาคม 2553


ตอบ 4.
อธิบาย ศัพท์การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรม
ที่มา http://warunee.chs.ac.th/sub.htm



ตอบ 2.
อธิบาย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้ออกเอกกสารเผยแพร่เล่มเล็กๆ สีสันสวยงามในชื่อ “เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการดัดแปรพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต” เพื่อเผยแพร่เรื่องราวและข้อสงสัยเกี่ยวกับ “จีเอ็มโอ” ซึ่งผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้นำรายละเอียดทั้งหมดมาให้อ่านกัน....
ที่มา http://www.pramot.com/gmo/gmoques.html





ตอบ 2.
อธิบาย กฎเกณฑ์ทางพันธุกรรมที่เมนเดลค้นพบนั้นไม่ใช่จะใช้ได้เฉพาะกับต้นถั่วลิสงเท่านั้น แต่เป็นกฎที่ใช้ได้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศรวมทั้งมนุษย์ด้วย มนุษย์มีโครโมโซม 23 คู่ แต่ละโครโมโซมมียีนมากมายหลายกลุ่มเรียงต่อๆ กันไป ลักษณะทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดตามกฎของเมนเดลเท่านั้นที่นักพันธุศาสตร์ได้ศึกษาไว้แล้วมีจำนวนมากมาย ซึ่งอาจแบ่งอย่างกว้างๆ ได้ 2 ประเภทคือ ลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนในออโตโซม และลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนในโครโมโซมเพศ


ที่มา https://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=75683


ตอบ 1.
อธิบาย

ดิวิชันไบรโอไฟตา (Division Bryophyta)
เรียกโดยทั่วไปว่า ไบรโอไฟต์ (bryophyte) มีทั้งสิ้นประมาณ 16,000 ชนิด พืชในดิวิชันนี้มีขนาดเล็ก มีโครงสร้างง่าย ๆ ยังไม่มีราก ลำต้นและใบที่แท้จริง ชอบอาศัยอยู่ตามที่ชุ่มชื้น การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศยังต้องอาศัยน้ำสำหรับให้สเปิร์มที่มีแฟลกเจลลา (flagella) ว่ายไปผสมกับไข่ ต้นที่พบเห็นโดยทั่วไปคือแกมีโทไฟต์ (มีแกมีโทไฟต์เด่น) รูปร่างลักษณะมีทั้งที่เป็นแผ่นหรือแทลลัส (thallus) และคล้ายลำต้นและใบของพืชชั้นสูง (leafy form) มีไรซอยด์ (rhizoid) สำหรับยึดต้นให้ติดกับดินและช่วยดูดน้ำและแร่ธาตุ มีส่วนคล้ายใบ เรียก phylloid และส่วนคล้ายลำต้นเรียกว่า cauloid แกมีโทไฟต์ของไบรโอไฟต์มีสีเขียวเพราะมีคลอโรฟิลล์สามารถสร้างอาหารได้เอง ทำให้อยู่ได้อย่างอิสระ เมื่อแกมีโทไฟต์เจริญเต็มที่จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์คือสเปิร์มและไข่ต่อไป ภายหลังการปฏิสนธิของสเปิร์มและไข่จะได้ไซโกตซึ่งแบ่งตัวเจริญต่อไปเป็นเอ็มบริโอและสปอร์โรไฟต์ตามลำดับ สปอโรไฟต์ของ ไบรโอไฟต์มีรูปร่างลักษณะง่าย ๆ ไม่สามารถอยู่ได้อย่างอิสระจะต้องอาศัยอยู่บนแกมีโทไฟต์ตลอดชีวิต พืชในดิวิชันนี้สร้างสปอร์เพียงชนิดเดียว
ที่มา http://www.snr.ac.th/m4html/w4html/bryophyta.htm


ตอบ 1.
อธิบายไวรัสไข้หวัดนกที่ระบาดในประเทศไทยเมื่อต้นปี 2004 มีชื่อเรียกว่า A/Chicken/Nakorn-Pathom/Thailand/CU-K2/04 (H5N1) ซึ่งเป็นไวรัสที่มีลักษณะก่อให้เกิดโรครุนแรง จัดเป็นชนิด highly pathogenic AI (HPAI) ซึ่งเชื้อที่แยกได้จากไก่จะมีลักษณะใกล้เคียงกับไวรัสไข้หวัดนกที่แยกเชื้อได้จากเป็ดในการระบาดที่ประเทศจีนเมื่อปี 2003 มากที่สุด A/Duck/China/E319.2/03 (H5N1) จากการศึกษารหัสพันธุกรรมของไวรัส พบว่ามี 20-codon deletion ในยีน neuraminidase และ 5-codon deletion ในยีน NS รวมทั้งพบ polymorphisms ของยีน M2 และยีน PB2 อีกด้วย
ที่มา http://bhumibol.panyathai.or.th/wiki/index.php/ไวรัสไข้หวัดนกหรือไวรัสสายพันธุ์_H5N1
ส่งอีเมลข้อมูลนี้ BlogThis! แบ่งปันไปที่ Twitter แบ่งปันไปที่ Facebook แบ่งปันไปที่ Google Buzz

กิจกรรม 22 - 26 พฤศจิกายน 2553